เช็กให้ชัวร์ก่อนกู้เงิน เช็กลิสต์ สินเชื่อถูกกฎหมาย สำหรับพ่อค้าแม่ค้า
.jpg)
การกู้เงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในธุรกิจเป็นเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนต้องการ แต่สิ่งสำคัญคือ ‘การเลือกสินเชื่อที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย’ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเสียเปรียบในระยะยาว ดังนั้น เรามาดูกันว่ามีวิธีการตรวจสอบสินเชื่ออย่างไรให้ชัวร์ก่อน กู้เงิน พร้อมเคล็ดลับที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าใจได้ง่าย!
ก่อนไปพาไปดูรายละเอียดของการเช็กลิสต์สินเชื่อถูกกฎหมายเพื่อป้องกันการโดนหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ไปดูรายละเอียดสำคัญ เกี่ยวกับสินเชื่อถูกกฏหมายสำหรับพ่อค้าแม่ค้า เพื่อความต้องการสินเชื่อที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับการจ่ายของคุณมากขึ้น
- มีเอกสารและสัญญาที่ชัดเจน
ต้องมีเอกสารระบุวงเงินสินเชื่อ ระยะเวลาผ่อนชำระ ดอกเบี้ย และเงื่อนไขการกู้ที่โปร่งใส ไม่มีข้อกำหนดที่เอาเปรียบผู้กู้ เช่น การยึดบัตรประชาชน หรือให้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้อง
- อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สินเชื่อที่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าควรเป็นสินเชื่อที่ออกโดยธนาคาร สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือกระทรวงการคลัง เช่น สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารรัฐ สหกรณ์ หรือบริษัทไฟแนนซ์ที่ได้รับอนุญาต
- มีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและไม่เกินกฎหมายกำหนด
- สินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไปไม่เกิน 25% ต่อปี
- สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ไม่เกิน 33% ต่อปี
สามารถตรวจสอบว่าสัญญาสินเชื่อมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สอดคล้องกับกฏหมาย ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงเกินจริง หรือค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า
- เหมาะสมกับพ่อค้าแม่ค้าและเจ้าของธุรกิจรายย่อย
มีสินเชื่อเฉพาะทางเช่น สินเชื่อ SME ขอสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ หรือสินเชื่อหมุนเวียนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก มีตัวเลือกการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่น ตามรายได้และคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้กู้เงิน
หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อที่โปร่งใส แนะนำให้เลือกจากข้อมูลเบื้องต้น และสินเชื่อจากธนาคาร ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามากที่สุด เช่น ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เข้าใจความต้องการเข้าถึงเงินทุนของพ่อค้าแม่ค้า และผู้ประกอบการรายย่อย เสนอสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิต เพื่อธุรกิจรายย่อย สนับสนุนเงินทุนสูงสุด 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 28% - 33% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง แบบลดต้นลดดอก) ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าถึงเงินทุนในระบบได้อย่างปลอดภัย
หมายเหตุ : *อนุมัติสินเชื่อ ภายใน 7-9 วันทำการ หลังจากได้เอกสารครบถ้วน เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อพ่อค้าแม่ค้า คลิก

มาเช็กลิสต์ให้ชัวร์ก่อนเลือกกู้เงิน พร้อมตัวอย่างสถานการณ์ที่ เหล่าพ่อค่าแม่ค้า ที่มักเจอกันบ่อยๆ
1. ถ้าสงสัย ให้เช็ก! อย่ารีบตัดสินใจ
ตัวอย่าง
พี่สมศรี พ่อค้าขายอาหารตามสั่ง ต้องการกู้เงินมาซื้อวัตถุดิบเพิ่ม เจอคนรู้จักแนะนำเงินกู้ดอกเบี้ยถูกมาก แต่ไม่มีเอกสารชัดเจน พี่สมศรีเลยลองเช็กผ่านเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าผู้ให้กู้นี้ไม่มีใบอนุญาต สุดท้ายพี่สมศรีจึงเลือกใช้สินเชื่อของธนาคาร เพราะปลอดภัยกว่า!จดทะเบียนถูกต้อง: ผู้ให้บริการสินเชื่อควรเป็นธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เช่น ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ หรือบริษัทไฟแนนซ์ที่มีชื่อเสียง หลีกเลี่ยง เงินกู้ นอกระบบ: หากพบข้อเสนอที่ดูน่าสนใจเกินจริง เช่น "อนุมัติไว ไม่ใช้เอกสาร ดอกเบี้ยต่ำ" ให้ระวังไว้ก่อน เพราะ เงินกู้ นอกระบบมักจะมีดอกเบี้ยที่สูงผิดกฎหมายและวิธีทวงหนี้ที่ไม่โปร่งใส
วิธีเช็ก: เข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย คลิก เพื่อดูรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อที่ถูกกฎหมาย
2. ดอกเบี้ยถูกเกินไป อาจซ่อนอะไรบางอย่างไว้!
ตัวอย่าง
ป้าสมจิตร เจ้าของร้านขายของชำ ได้รับข้อเสนอสินเชื่อที่โฆษณาว่า "ดอกเบี้ย 1% ต่อปี" แต่เมื่ออ่านสัญญากลับพบว่ามีค่าธรรมเนียมแฝงหลายรายการ สุดท้ายดอกเบี้ยที่แท้จริงพุ่งสูงเกิน 30% ต่อปี! โชคดีที่ป้าสมจิตรอ่านสัญญาก่อนเซ็น
ดอกเบี้ยตามกฎหมาย: อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ถูกกฎหมายต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไปมักไม่เกิน 25% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อ)
ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง: ตรวจสอบว่าค่าธรรมเนียม เช่น ค่าเปิดบัญชีหรือค่าดำเนินการอื่น ๆ ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ หากมีค่าธรรมเนียมที่ไม่สมเหตุสมผล ให้ระวังไว้ก่อน
3. อ่านสัญญาให้ละเอียด อย่าข้ามแม้แต่บรรทัดเดียว!
ตัวอย่าง
ลุงดำขายน้ำเต้าหู้ ต้องการกู้เงิน 20,000 บาท จากผู้ให้กู้รายหนึ่ง แต่เมื่ออ่านสัญญาพบว่ามีเงื่อนไขให้โอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ของลุงดำเป็นหลักประกัน แม้ไม่ได้ตกลงไว้ตั้งแต่แรก! สุดท้ายลุงดำจึงยกเลิกข้อตกลงและไปกู้กับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือแทน
เงื่อนไขชัดเจน: สัญญาต้องระบุข้อมูลสำคัญ เช่น วง เงินกู้ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อย่างโปร่งใส
ไม่มีการยึดเอกสารส่วนตัว: ผู้ให้สินเชื่อที่ถูกกฎหมายจะไม่ยึดบัตรประชาชน สมุดบัญชี หรือเอกสารสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
คำแนะนำ:หากมีข้อสงสัยในสัญญา ให้ถามจนกว่าจะเข้าใจ และควรเก็บสำเนาสัญญาไว้เป็นหลักฐานเสมอ
4. กู้เท่าที่จำเป็น ผ่อนเท่าที่ไหว
ตัวอย่าง:
น้องเอขายกาแฟสด กู้เงินมา 30,000 บาทเพื่อซื้อเครื่องทำกาแฟราคาแพง แต่กลับไม่มีเงินพอจ่ายค่างวดทุกเดือน ทำให้ต้องจ่ายค่าปรับเพิ่ม สุดท้ายกลายเป็นหนี้สินล้นตัว
ก่อนตัดสินใจกู้เงิน ให้ถามตัวเองว่า:
“ฉันสามารถชำระ เงินกู้ คืนได้หรือไม่?”
“รายได้ต่อเดือนพอสำหรับการผ่อนชำระหรือไม่?”
หลีกเลี่ยงการกู้เงินที่เกินความจำเป็น เพราะอาจสร้างภาระหนี้สินเกินตัว
สรุป
การเลือกสินเชื่อที่ถูกกฎหมายไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องใส่ใจรายละเอียดและตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบ อย่าเร่งรีบในการตัดสินใจ เพราะการกู้เงินที่เหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงและปลอดภัย หากคุณเลือกสินเชื่อที่ถูกต้อง คุณจะได้ทั้งเงินทุนและความสบายใจในการทำธุรกิจ!
"กู้เงินอย่างชาญฉลาด ป้องกันปัญหาหนี้สิน และสร้างอนาคตที่มั่นคงไปพร้อมกับธุรกิจของคุณ!"
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.bot.or.th/th/satang-story/managing-debt/before-loan.html
Recent Posts
View All